Powered By Blogger

วันพุธที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2553

บทกวีดาว กลุ่มดาว


              คนไทยรู้จักการดูดาวมานานแล้ว ในสมัยก่อนเมื่อบ้านเมืองยังไม่ขยายใหญ่โตนัก ไฟฟ้าก็ยังไม่มีใช้ ตอนกลางคืนจึงค่อนข้างมืดสนิท ในยามค่ำคืนก็นั่งหรือนอนเล่นหรือพูดคุยกันที่นอกเรือนชาน ในยามฟ้าใสปราศจากแสงรบกวน ดวงดาวจะปรากฏระยิบระยับวับวาวบนท้องฟ้า ดุจดังเพชรพลอยหลากหลายขนาดและสี ความสวยงามของดาวบนท้องฟ้าทำให้คนไทยสนใจดูดาวต่าง ๆ ที่ปรากฏบนท้องฟ้า
ความรู้ทางดาราศาสตร์ของคนไทยมีความเป็นมาอย่างไรไม่เป็นที่แน่ชัด แต่หลักฐานการบันทึกเหตุการณ์ต่าง ๆ ทางประวัติศาสตร์ มีการกล่าวถึงปรากฏการบนท้องฟ้า เช่น การเกิดคราส การปรากฏของดาวหาง เป็นต้น ในตำราโหราศาสตร์มีการกล่าวถึง ดาวเคราะห์ และตำแหน่งปรากฏของดาวเคราะห์ตามกลุ่มดาว 12 ราศี กลุ่มดาวนักษัตร หรือกลุ่มดาวนักขัตตฤกษ์ทั้ง 27 กลุ่ม รวมทั้งการคำนวณตำแหน่งของดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และดาวเคราะห์ อีกทั้งเวลาการเกิดสุริยคลาส หรือ จันทรคลาส เข้าใจว่าไทยได้รับอิทธิพลจากฮินดู ซึ่งมีการพัฒนาความรู้ทางด้านดาราศาสตร์ในระดับสูง
หนังสือวรรณคดีไทยหลายเล่ม กล่าวถึงกลุ่ม ดาวฤกษ์ และดาวเคราะห์ ที่ปรากฏบนท้องฟ้า มีการเรียกชื่อตามลักษณะปรากฏบนท้องฟ้า เช่น ดาวไถ ดาวจระเข้ ดาวธง เป็นต้น ดังบทกลอนดอกสร้อยของเก่าบทหนึ่งที่กล่าวถึง ดาวจระเข้ ดังนี้


              สักวาดาวจระเข้ก็เหหก             ศีรษะตกหันหางขึ้นกลางหาว
เป็นวันแรมแจ่มแจ้งด้วยแสงดาว            น้ำค้างพราวปรายโปรยโรยละออง
ลมเรื่อย เรื่อย เฉื่อยฉิวต้องผิวเนื้อ             ความหนาวเหลือทานทนกมลหมอง
สกุณากาดุเหว่าก็เร่าร้อง                           ดูแสงทองจับขอบฟ้าขอลาเอย


บทกลอนดอกสร้อยบทนี้ กล่าวถึงดาวจระเข้ ซึ่งตามแผนที่ดาวสากลก็คือ กลุ่มดาวหมีใหญ่ ( Ursa Major ) กลุ่มดาวนี้ปรากฏทางทิศเหนือ เคลื่อนที่รอบขั้วเหนือ ( ใกล้ดาวเหนือ ) ของท้องฟ้า ประกอบด้วยดาวสว่าง 7 ดวง  กลุ่มดาวนี้อาจมองเป็นรูป “ กระบวยตักน้ำ “ ก็ได้ ราวเดือนพฤษภาคม กลุ่มดาวจระเข้จะขึ้นตั้งแต่ช่วงหัวค่ำ อยู่บนท้องฟ้าเกือบตลอดทั้งคืน เมื่อจะตกลับขอบฟ้าในช่วงก่อนฟ้าสาง หัวจระเข้จะปักลงไปทางขอบฟ้า ทำให้เห็นบริเวณที่เป็นหางจระเข้ชี้ขึ้นกลางหาว





ดูโน่นแนะแม่อรุณรัศมี ตรงมือชี้ ดาวเต่า นั่นดาวไถ
โน่นดาวธงตรงหน้าอาชาไนย ดาวลูกไก่ เคียงคู่เป็นหมู่กัน
องค์อรุณทูลถามพระเจ้าป้า ที่ตรงหน้าดาวไถ ชื่อไรนั่น
นางบอกว่า ดาวธง อยู่ตรงนั้น ที่เคียงกันเป็นระนาวชื่อ ดาวโลง
แม้ดาวกา มาใกล้ในมนุษย์ จะม้วยมุดมรณาเป็นห่าโหง
ดาวดวงลำ สำเภา มีเสากระโดง สายระโยงระยางหางเสือดาว
นั่นแน่ แม่ดู ดาวจระเข้ ศีรษะเร่หกหางขั้นกลางหาว
ดาวนิดพิศพายัพดูวับวาว เขาเรียก ดาวยอดมหาจุฬามณี
หน่อนรินทร์สินสมุทรกับบุตรี เฝ้าเซ้าซี้ซักถามตามสงกา


คำกลอนสุนทรภู่บทนี้ กล่าวถึงดาวหลายดวง ดางธง ก็คือ กลุ่มดาวราศีพฤษก หรือดาววัวนั่นเอง โดยเฉพาะตรงหน้าวัว ซึ่งมีลักษณะเหมือนธงสามเหลี่ยม ดาวฤกษ์ที่สว่างที่สุดในกลุ่มดาวนี้ คือ ดาวอัลดีบาแรน หรือดาวโรหิณี และยังมีกระจุกดาวฮายเอเดส ( Hyades ) อยู่ในกลุ่มดาวนี้ด้วย ดาวโลง ได้แก่ กลุ่มดาวราศีมิถุน หรือกลุ่มดาวคนคู่ ซึ่งมีดาวเรียงกันหลายดวงมองเห็นคล้ายโลงศพ กลอนบทนี้ กล่าวถึง ดาวฤกษ์สว่างดวงหนึ่ง เรียก “ ดาวยอดมหาจุฬามณี “ หรือ ดาวดวงแก้ว หรือดาวอาร์คตุรุส ( Arcturus ) หรือดาวอัลฟา บูตีส
( Alpha Bootis ) ในกลุ่มดาวคนเลี้ยงสัตว์ ส่วนกลุ่มดาวคันชั่ง ได้แก่ กลุ่มดาวราศีตุลย์ ซึ่งมีดาว 4 ดวง วางตัวคล้ายรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน มองดูคล้ายคันชั่ง

อ้างอิง

สร้างแอสโทรเลบ

การวัดมุมทิศ
       มุมทิศเป็นมุมที่บอกทิศ โดยเริ่มวัดจากจุดทิศเหนือไปตามเส้นขอบฟ้าทางตะวันออก จนกระทั่งกลับมาที่จุดทิศเหนือ









มุมทิศมีค่ามุมสูงสุดเท่าใด?




การวัดมุมเงย
         มุมเงยเป็นมุมที่วัดจากเส้นขอบฟ้าขึ้นไปตามเส้นวงกลมดิ่งจนถึงจุดเหนือศีรษะ


มุมเงยมีค่ามุมสูงสุดเท่าใด?

  เพื่อความสะดวกในการวัดค่ามุมทิศและมุมเงยจึงได้มีการประดิษฐ์อุปกรณ์เพื่อใช้วัดค่ามุมทั้งสอง อุปกรณ์ชนิดนี้ เราเรียกว่า แอสโทรเลบ (Astrolabe)


                


แอสโทรเลบ

อย่างง่ายที่ประดิษฐ์ขึ้น ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ส่วนฐาน ซึ่งแสดงค่ามุมทิศ และส่วน ที่เป็นกล้องเล็ง จะเป็นส่วนที่มีเข็มชี้เพื่อบอกค่ามุมทิศและมุมเงย

การใช้แอสโทรเลบ


1. ตั้งฐานอุปกรณ์ให้ทิศเหนือหรือมุมทิศ 0 องศา หรือ 360 องศาตรงกับทิศเหนือของโลก



2. ตั้งกล้องเล็งบนฐาน โดยใช้เข็มชี้ตรงกับทิศเหนือของฐานอุปกรณ์

3. เริ่มการวัดมุมโดยหมุนกล้องเล็งไปทางทิศตะวันออก และค่อย ๆ เงยกล้องเล็งขึ้นไปบนท้องฟ้าเพื่อหาดวงดาวที่ต้องการจะบอก
   ตำแหน่ง ณ ขณะนั้น


4. เมื่อพบวัตถุท้องฟ้าแล้วให้อ่านค่ามุมทิศจากเข็มชี้ที่ฐาน และมุมเงยที่ติดอยู่กับกล้องเล็ง









จากภาพเข็มชี้ทั้ง 2 อ่านค่ามุมทิศและมุมเงยได้เท่าใด
      การที่จะสามารถบอกหรือวัดตำแหน่งของดวงดาวหรือวัตถุท้องฟ้าได้อย่างค่อนข้างแม่นยำนั้น สิ่งที่สำคัญคือจะตัองรู้ทิศเหนือที่ถูกต้อง คือ ทิศที่ชี้ไปยังขั้วโลกเหนือเพราะการวัดมุมทิศ เราเริ่มวัดจากทิศเหนือไปตามเส้นขอบฟ้า และอีกประการหนึ่งคือ ต้องหมั่นสังเกตดวงดาวหรือวัตถุท้องฟ้าจริงก็จะเพิ่มความชำนาญและ สร้างความมั่นใจในการ บอกตำแหน่งและสังเกตกลุ่มดาวต่อไปได้



อ้างอิง

กล้องโทรทัศน์แบบหักเหแสง

                                        Refract telescope
       เป็นกล้องดูดาวแบบที่ใช้เลนซ์เป็นหลัก กาลิเลโอ เป็นบุคคลแรกที่ประดิษฐกล้องชนิดนี้ขึ้น ประกอบด้วยเลนซ์อย่างน้อยสองชิ้น คือ เลนซ์วัตถุ (Object Lens) เป็นเลนซ์ด้านรับแสงจากวัตถุ เป็นเลนซ์นูนซึ่งจะมีความยาวโฟกัสยาว (Fo)  และเลนซ์ตา (Eyepieces) เป็นเลนซ์ที่ติดตาเราเวลามอง ซึ่งมีความยาวโฟกัสสั้น (Fe) กว่าเลนซ์วัตถุมากๆ ทำให้เกิดอัตราการขยาย ซึ่งคำนวนได้จากสูตร

 อัตราการขยายของกล้อง = ความยาวโฟกัสเลนซ์วัตถุ Fo /ความยาวโฟกัสเลนซ์ตา Fe

                                                       หลักการของกล้องโทรทัศน์ชนิดหักเหแสง
              เลนซ์วัตถุจะรับแสงจากวัตถุที่ระยะไกลๆแล้วจะเกิดภาพที่ตำแหน่งโฟกัส(Fo) เสมอ แล้ว เลนซ์ตัวที่สอง หรือ เลนซ์ตา (Fe)   จะขยายภาพจากเลนซ์วัตถุอีกครั้ง ซึ่งต้องปรับระยะของเลนซ์ตา เพื่อให้ภาพจากเลนซ์วัตถุที่ตำแหน่ง Fo  อยู่ใกล้กับ โฟกัสของเลนซ์ตา Fe  และทำให้เกิดภาพชัดที่สุด ดังรูป

                                 

             ด้วยหลักการหักเหของแสงที่ผ่านตัวกลาง จะมีผลทำให้แสงสีขาวถูกแยกสเปคตรัมออกมาเป็นสีรุ้ง ทำให้กล้องแบบที่เลนซ์วัตถุชิ้นเดียว ไม่สามารถใช้งานได้ดีนัก เกิดปรากฏการณ์ที่เรียกว่า  การคลาดสี (Chromatic Aberration) ทางแก้คือจะต้องใช้เลนซ์ที่ลดอาการคลาดสีได้ ที่เราเรียกว่า Achromatic Lens(รายละเอียดเรื่องนี้ หาอ่านได้จากเรื่องเลนซ์ )

            เมื่อเรานำเลนซ์ตามารับภาพที่จุดโฟกัสของเลนซ์วัตถุเพื่อทำให้เกิดกำลังขยาย หลักการของแสงจะทำให้เกิดภาพหัวกลับ และ กลับซ้ายขวาด้วย ทำให้เราไม่สามารถใช้ดูวิวเห็นเป็นภาพปกติได้ (แต่ถ้าใช้ดูดาวก็อาจจะไม่ต้องสนใจก็ได้)  ทางแก้คือจะต้องมีตัวเปี่ยงเบนแสงที่เรียกว่า ไดอะกอนัล (Diagonal)  มาช่วยทำให้ภาพกลับหัวขึ้นมา หรือ ต้องการกลับภาพซ้ายขวาได้อีกด้วย


ข้อดีของกล้องแบบหักเหแสง
  

   1. เป็นกล้องพื้นฐานที่สร้างได้ไม่ยากนัก
   2. โดยทั่วไปจะมีเส้นผ่านศูนย์กลางน้อยๆจึงมีน้ำหนักเบา พกพาเคลื่อนย้ายสะดวก
   3. แสงผ่านเลนซ์วัตถุโดยไม่มีอะไรกีดขวาง ทำให้รับปริมาณแสงเต็มที่



ข้อเสียของกล้องแบบหักเหแสง
   1. เนื่องจากมีเส้นผ่านศูนย์กลางน้อย ทำให้ปริมาณการรับแสงน้อยไม่เหมาะใช้ดูวัตถุไกลๆอย่าง กาแลกซีและเนบิวล่า
   2. ใช้เลนซ์เป็นตัวหักเหแสง ทำให้เกิดการคลาดสีได้หากใช้เลนซ์คุณภาพไม่ดีพอ   จึงต้องมีการใช้เลนซ์ หลายชิ้นประกอบกันทำให้มีราคาสูง  
  3. ภาพที่ได้จากกล้องแบบหักเหแสงจะให้ภาพหัวกลับและกลับซ้ายขวา คืออ่านตัวหนังสือไม่ได้นั่นเอง ดังนั้นกล้องแบบนี้จะต้องมี diagonal prism เพื่อช่วยแก้ไขภาพ

อ้างอิง

วันศุกร์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2553

คำศัทพ์ดาราศาสตร์ 50 คำ

คำศัพท์ 50 คำ
1A Star  (เอ-สตาร์)
ดาวฤกษ์ที่สเปคตรัมชนิด A มีสเปคตรัมดูดกลืนของไฮโดรเจนเด่นชัด มีอุณหภูมิผิวราว 7500 เคลวิน ที่ A9 และ 9900 เคลวินที่ A0  เป็ดาวสีขาวมีขนาดประมาณ 1.8 ถึง 1.4 เท่าของมวลดวงอาทิตย์ ตัวอย่างดาวประเภทนี้ได้แก่ Sirius Vega  Altair Deneb


2Absolute temperature (แอ็บ-โซ-ลูด-เทม-เพอ-เร-เจอร์)
 
 อุณหภูมิสัมบูรณ์ มีหน่วยวัดเป็นเคลวิน (K) ช่วงย่อยของเคลวินมีค่าเท่ากับ 1 องศาเซลเซียส (C)  ความสัมพันธ์ระหว่างอุณหภูมิเคลวิน กับองศาเซลเซียสคือ  T= t+273.16  เมื่อ T แทนด้วยอุณหภูมิเคลวิน  และ t แทนด้วยองศาเซลเซียส  ดังนั้น อุณหภูมิศูนย์องศาสัมบูรณ์จึงมีค่าเท่ากัน -273.16 องศาเซลเซียส  
อุณหภูมิสัมบูรณ์มีการใช้กันแพร่หลายในวงการดาราศาสตร์


3Achromatic Lens (อะ-โคร-มา-ติค-เลนซ์) หรือ achromat  เป็นเลนซ์ที่ถูกออกแบบมาให้ลดความคลาดเคลื่อนทางแสง โดยปกติจะใช้เลนซ์ 2 ชิ้นที่ทำจากเนื้อแก้วต่างชนิดกัน มาประกบกันเพื่อให้ได้ผลรวมของแสงตกมาอยู่ที่โฟกัสเดียวกัน

4Angular Diameter (แอง-กู-ล่า-ได-มิ-เตอร์) เป็นการวัดระยะของวัตถุท้องฟ้าในรูปแบบความกว้างเชิงมุม มีหน่วยเป็นองศา หน่วยย่อยคือ arc minute , arc second   ถ้าเราทราบระยะห่างระหว่างผู้สังเกตกับวัตถุท้องฟ้า ก็สามารถคำนวนหาความกว้างจริงของวัตถุท้องฟ้านั้นได้ด้วยหลักตรีโกณมิติ
5B Star (บี-สตาร์) ดาวฤกษ์ที่มีสเปคตรัม Type B มีสเปคตรัมดูดกลืนของฮีเลียมชัดเจน อุณหภูมิ 10,500 เคลวินที่ B9 และ 28,000 เคลวินที่ B0 มีมวลอยู่ระหว่าง 3.2 ถึง 17 เท่าของดวงอาทิตย์ จัดเป็นพวกดาวยักษ์สีน้ำเงินสว่างกว่าดวงอาทิตย์ 20,000 เท่า  ตัวอย่างของดาว B star ได้แก่ Achernar,Regulus,Rigel,Spica


6Barlow lens (ฺบา-โล-เลนซ์) เป็นเลนซ์พิเศษที่ใช้เชื่อมต่อกับเลนซ์ตา เพื่อเพิ่มกำลังขยาย โดยปกติจะเพิ่มได้อีก 2 เท่าหรือ 3 เท่า ที่เรียกว่า Barlow 2x  หรือ Barlow 3x ตามลำดับ เช่นเดิมถ้าใช้เลนซ์ตาได้กำลังขยาย 50 เท่า เมื่อใช้ Barlow 2x จะไดกำลังขยายเพิ่มขึ้นเป็น 100 เท่าเป็นต้น  Barlow lens ถูกประดิษฐขึ้นโดยนักฟิสิกส์ชาวอังกฤษชื่อ Peter Barlow (ีคศ.1776-1872)
7Blueshift (บลู-ชิป) เป็นปรากฏการณ์ Doppler effect ทางดาราศาสตร์เมื่อแหล่งกำเนิดแสงอย่างดาวฤกษ์ เคลื่อนที่เข้าหาโลก ความยาวคลื่น ของแสงจะอัดตัวสั้นลง ความถี่ของแสงจะเลื่อน (shifted) ไปทางด้านสีม่วงของเส้นสเปคตรัม สังเกตได้จากแถบสเปคตรัมดูดกลืน จะเลื่อนไปทาง สีม่วงหรือสีน้ำเงิน (blueshift) โดยผลต่างของความถี่ที่เปลี่ยนไปสามารถคำนวนมาเป็นความเร็วที่เคลื่อนที่เข้าหาได้

8Brown Dwarf (บราว-ดะวาฟ) ดาวแคระน้ำตาล  เป็นวัตถุที่มีมวลน้อยกว่า 0.08 เท่าของดวงอาทิตย์แกนกลางมีอุณหภูมิไม่สูงพอที่ทำให้เกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์ได้ มีอุณหภูมิผิว 2500 เคลวิน ค่าต่ำสุดของดาวแคระแดง (Red Dwarf) มีการค้นพบแล้วหลายสิบดวง ดวงที่เย็นที่สุดคือ Gliese 229B มีอุณหภูมิผิว 900 เคลวิน

9C Star (Carbon Star) มี spectral Type C  เป็นดาวยักษ์แดงเย็นเฉียบ ผิวของดาวมีองค์ประกอบของคาร์บอนเป็นโมเลกุลพื้นฐาน เช่น คาร์บอนมอนน๊อคไซด์ (CO)  ไซยาโนเจน (CN) และโมเลกุลของคาร์บอน (C2)  ดาวฤกษ์มวลขนาดดวงอาทิตย์ของเราช่วงที่เป็นดาวยักษ์แดง จะมีคาร์บอนเป็นส่วนประกอบเช่นกัน เนื่องจากปฏิกิริยานิวเคลียร์ที่แกนกลางที่ผลิตคาร์บอนแล้วส่งต่อถึงพื้นผิว

10Calendar (แคล เอ็นเดอะ) ปฏิทิน คือวันใน 1ปีที่ถูกแบ่งย่อยออกเป็นเดือนๆ ตามการปรากฏของดวงอาทิตย์หรือดวงจันทร์ ปฏิทินถูกคิดขึ้น ครั้งแรกโดย ชาวบาบิโลเนียน โดยใช้การปรากฏของดวงจันทร์ซึ่งมี 29.5 วัน เรียกว่า "ปฏิทินจันทรคติ" แต่มาถูกปรับปรุงให้มีความแม่นยำขึ้น โดยชาวอียิปต์โบราณ โดยใช้ดวงอาทิตย์เป็นหลัก เรียกว่า "ปฏิทินสุริยะคติ"

11Cassiopeia A (แคส-ซ-ิโอ-เปีย- เอ)
 
แหล่งคลื่นวิทยุความเข้มสูงบนท้องฟ้าในกลุ่มดาวแคสซิโอเปีย เป็นซากหลงเหลือจากการระเบิดของซุปเปอร์โนวา เมื่อราว คศ.1660  แต่ไม่มีการบันทึกการเห็นไว้บนโลก ทิ้งซากไว้เป็นเนบิวล่าจางๆ อยู่ห่างจากโลกราว 10,000 ปีแสง

12Catadioptric (คา-ทา-ได-อ๊อป-ตริก) เป็นกล้องโทรทรรศน์อีกชนิดหนึ่งที่รวมเอาหลักการของเลนซ์และกระจกไว้ด้วยกัน  โดยมีเลนซ์รวมแสงอยู่ด้านหน้าที่เรียกว่า Correcting plated มีกระจกนูนติดไว้อีกด้านหนึ่งเพื่อสะท้อนภาพจากกระจกหลัก ผ่านรูตรงกลางไปท้ายกระจก คล้ายกับกล้อง Cassegrain เพียงแค่มี Correcting plated เพิ่มด้านหน้าเท่านั้น  กล้องแบบนี้ได้แก่ Schmidt-Cassegrain telescope และ Maksutov Telescope

13Celestial Equator (ซี-เลส-เชียน- อิ-เคว-เตอร์) เป็นแนวของเส้นศูนย์สูตรโลก ที่ขยายไปปรากฏบนทรงกลมท้องฟ้า เรียกว่า เส้นศูนย์สูตรท้องฟ้า ดังนั้นแนวของเส้นศูนย์สูตรโลก กับ แนวเส้นศูนย์สูตรท้องฟ้า จะเป็นแนวเดียวกัน

14Chandrasekar Limit  ค่าจำกัดจันทราสิกขา  เป็นค่าสูงสุดของมวลของดาวแคระขาว (White dwart) มีค่าประมาณ 1.4 เท่าของดวงอาทิตย์  ถ้าดาวฤกษ์มีมวลมากกว่าค่านี้ ดาวจะยุบตัวกลายเป็นดาวนิวตรอน และหลุมดำ  ค่าจำกัดจันทราสิกขาถูกคิดขึ้นครั้งแรกเมื่อปี คศ.1931 โดยนักดาราศาสตร์ฟิสิกส์ชาวอเมริกันเชื้อสายอินเดีย และเขาได้ตั้งทฤษฏีเกี่ยวกับวิวัฒนาการของดาวฤกษ์

15Constellation (คอน-สเตล-เล-ชั่น)
 หรือกลุ่มดาวบนท้องฟ้า  เป็นกลุ่มของดาวฤกษ์บนท้องฟ้าที่มนุษย์จิตนาการไว้เป็นรูปร่างต่างๆเพื่อง่ายต่อการจดจำ เริ่มใช้ครั้งแรกในยุคสมัยของ Ptolemy  มีอยู่ด้วยกัน 44 กลุ่ม ปัจจุบัน IAU แบ่งกลุ่มดาวบนท้องฟ้าออกเป็น 88 กลุ่ม และกำหนดขอบเขตที่แน่นอนเมื่อปี คศ.1930  จากกลุ่มดาวขนาดเล็กสุดคือกลุ่มดาวกางเขนใต้ (Crux) จนถึงกลุ่มดาวที่มีขนาดใหญ่ที่สุดคือกลุ่มดาวงูไฮดรา (Hydra)


16Cosmic Microwave Background
 หรือรังสีคอสมิคพื้นหลัง  เป็นการแพ่รังสีของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากเอกภพซึ่งแพ่ออกมาทุกทิศทุกทางในอวกาศมีอุณหภูมิราว 2.73 เคลวิน เชื่อว่าเป็นคลื่นพลังงานที่หลงเหลือมาจากความร้อนของเอกภพหลังการเกิด BigBang  ถูกพบครั้งแรกเมื่อปี คศ.1965 โดย Arno Penzias กับ Robert Wilson จาก Bell Telephone Laboratories การค้นพบในช่วงนั้นมีความยาวคลื่นสั้นมากเป็นไมโครเวฟ  ปัจจุบันความยาวคลื่นเพิ่มขึ้นเป็นมิลลิเมตรจากผลของเอกภพขยายตัว แต่ยังคงเรียกว่าเป็นคลื่นไมโครเวฟอยู่


17Dark matter (ดาค-แมท-เทอร์) หรือสารมืด  เป็นสสารที่ยังไม่รู้จัก และคิดว่ามีอยู่จริง อยู่ระหว่างแต่ละกาแลกซี่ และคิดว่ามีอยู่อย่างน้อย 90% ของมวลเอกภพ มีอยู่หลายรูปแบบ เช่น หลุมดำ(Black holes), ดาวแคราะน้ำตาล(Brown dwarfs), อนุภาคที่ยังไม่รู้จัก(Unknow atomic particle) ทั้งหมดนี้เรียกว่า cold dark matter  ส่วนที่เป็น hot dark matter นั้นจะได้แก่ นิวตริโน

18Declination (เด-คลิ-เน-ชั่น)
 ดูคำว่า
 Coordinate

19Disk Galaxy  (ดิส กาแลกซี่)
 เป็นชื่อที่ใช้เรียกกาแลกซี่ หรือ ดาราจักร ที่มีลักษณะเป็นแผ่นจานบางๆ ที่มีดาวรายล้อมเป็นรัศมีรอบๆศูนย์กลางกาแลกซี่  Disk Galaxy ใช้เรียกได้ทั้งกาแลกซี่แบบเกลียว
 (Sprial Galaxy)  และ กาแลกซี่แบบเลนซ์ (Lenticular Galaxy)

20Doppler effect (ดอล์ป-เลอร์-เอฟ-เฟค) เป็นปรากฏการณ์ที่เสียงหรือแสง มีการเปลี่ยนแปลงความยาวคลื่น เมื่อแหล่งกำเนิดเสียง หรือแสงนั้น มีการเคลื่อนที่เมื่อเทียบกับผู้สังเกต โดยจะมีความถี่มากขึ้นเมื่อแหล่งกำเนิดเคลื่อนที่เข้าหาผู้สังเกต และมีความถี่ลดลง เมื่อแหล่งกำเนิด เคลื่อนที่ออกจากผู้สังเกต ตัวอย่างของปรากฏการณ์นี้คือ รถที่เปิดไซเรนวิ่งเข้าหาเรา เสียงไรเรนจะมีความถี่สูง และเสียงจะมีความถี่ต่ำลง เมื่อรถวิ่งห่างจากเราไป ปรากฏการณ์นี้คนพบโดย คริสเตียน ดอปเปอร์ นักฟิสิกส์ชาวออสเตรีย มีชีวิตอยู่ระหว่างปี คศ.1803-1853 ในทางดาราศาสตร์ ปรากฏการณ์นี้สำคัญมาก เพราะทำให้เกิดปรากฏการณ์ที่เรียกว่า blueshift และ redshift


21Dwarf Galaxy
 หรือกาแลกซี่แคระ เป็นกาแลกซี่ที่มีขนาดเล็กกว่ากาแลกซี่ทั่วไปและมีความสว่างน้อย โดยทั่วไปจะเป็นพวกกาแลกซี่รูปไข่(elliptical) หรือ กาแลกซี่ไร้รูปร่าง (Irregular)  มีกาแลกซี่แคราะมากมายเป็นเพื่อนบ้านของทางช้างเผือก อยู่ในกลุ่มกาแลกซี่ท้องถิ่น (Local Group)

22Dwarf  Nova 
 หรือ โนวาแคระ เป็นประเภทหนึ่งของดาวแปรแสงแบบไม่คงที่ ซึ่งกราฟความสว่างจะคงที่เป็นเวลานานแล้วก็สว่างขึ้นอย่างทันทีทันใด และกลับมาสว่างปกติอีกครั้ง เกิดขึ้นจากระบบดาวคู่ซึ่งมีสมาชิกดวงหนึ่งเป็นดาวแคระขาว (White dwarf)  ตัวอย่างได้แก่ดาว U Geminorum  Z Camelopardalis


23Dwarf  Star
 หรือ ดาวแคระ เป็นลักษณะทั่วไปของดาวฤกษ์ในกาแลกซี่มีประมาณ 90 เปอร์เซนต์ มีมวลโดยเฉลี่ย 60 เปอร์เซนต์ รู้จักกันในชื่อของ main-sequence ในแผนผัง HR-diagram  คำว่าแคราะมาจากความสัมพันธ์ของความสว่างน้อยกว่าขนาด ดวงอาทิตย์ของเราก็เป็นหนึ่งในจำพวกดาวแคระด้วย


24Eccentricity (แอค-เซ็น-ทริซ-อิทิ) 
เป็นหนึ่งในองค์ประกอบของวงโคจร ซึ่งบอกว่า วงโคจรนั้นเป็นวงรีหรือวงกลมแค่ไหน โดยการนำค่า ระยะห่างระหว่าง จุดโฟกัสสองจุด (f1f2) หารด้วยความยาวของแกนสำคัญที่ลากผ่านจุดโฟกัสทั้งสอง (x) โดยที่ 
วงกลมจะมี Eccentricity= 0 ( f1f2 มีค่าเท่ากับศูนย์) 
พาลาโบล่า มี Eccentriciy = 1 (f1f2 มีค่าใกล้เคียง X)
วงรี จะมี Eccentricity อยู่ระหว่าง 0 ถึง 1 โดยที่ค่าเข้าใกล้ศูนย์ จะมีความรีน้อย หรือเกือบเป็นวงกลมนั่นเอง


25Equinox (อิควิน๊อกซ์)
 ในภาษาไทยเรียกว่า "วิษุวัต" เป็นช่วงที่เส้นอิคลิปติค (ecliptic) ตัดกับเส้นศูนย์สูตรฟ้า
 (celestial equator) มีความสำคัญทางดาราศาสตร์คือ ทำให้ มีช่วงเวลา กลางวัน กับกลางคืน ยาวเท่ากัน โดยที่ดวงดวงอาทิตย์จะขึ้นใกล้จุดทิศตะวันออก และ ตกใกล้ จุดทิศตะวันตก มากที่สุด ในรอบ 1 ปี จุดอิควิน๊อกซ์ มีอยู่ด้วยกัน 2 จุดคือ
      1.vernal equinox  (เวอนัล อิคิวน๊อกซ์) หรือ วสันตวิษุวัต ตรงกับวันที่ 21 มีนาคม 
      2.autumnal equinox  (ออทัมนัล อิคิวน๊อกซ์) หรือ ศารทวิษุวัต ตรงกับวันที่ 23 กันยายน


26Fire ball (ไฟล์-บอล)
 เป็นคำจำกัดความเรียกดาวตกที่มีความสว่างมากๆ ซึ่งกำหนดไว้ว่าต้องมีความสว่างมากกว่าดาวเคราะห์ ซึ่งในปัจจุบัน ดาวศุกร์เป็นดาวเคราะห์ที่ สว่างที่สุด ดังนั้น ดาวตกที่มีความสว่างมากกว่า -4.7 ก็จะถูกจัดอยู่ในกลุ่ม ของ fire ball ด้วย ซึ่งฝนดาวตกเจมินิค ในเดือนธันวาคม จะปรากฏ fire ball มากกว่าอันอื่นๆ


27Galilean Satellites (กา-ลิ-เลียน-แซท-เอล-ไลท)
 คือดวงจันทร์ขนาดใหญ่ของดาวพฤหัส 4 ดวงคือ Io,Europa,Ganymede และ Callisto ซึ่งสามารถมองเห็นได้จากโลก ซึ่งกาลิเลโอ เป็นคนแรกที่สังเกตเห็น เมื่อปี 1610 จึงตั้งชื่อให้เป็นเกียรติ 


28Gamma-Ray Burst (GRB) (แกม-ม่า-เรย์-เบิซท)
          เป็นปฎิกิริยาเจิดจ้าของรังสีแกมม่า ในช่วงเวลาสั้นๆ นานไม่เกิน 2-3 นาที ตรวจพบครั้งแรกเมื่อปี 1967 จากดาวเทียมที่โคจรอยู่ และในปี 1999 กล้องอวกาศฮับเบิลก็ตรวจพบ GRB อีกที่ใจกลางของกาแลกซี่ไกลโพ้น


29Geocentric distance (จี-โอ-เซน-ทริด ดิส-แตนซ์)
 
(delta) หมายถึงระยะทางจากวัตถุท้องฟ้าถึงโลก โดยทั่วไปจะใช้หน่วยวัดเป็น astronomical units (AU.)


30Heliocentric distance (r) (ฮี-ลี-โอะ-เซ็น-ทริค-ดิซ-แทน)
 
คือระยะทางจากวัตถุถึงดวงอาทิตย์ โดยทั่วไปจะบอกหน่วยเป็นastronomical units (AU.)


31Inclination (อิน-คลิ-เน-ชัน) 
ระนาบวงโคจรของดาวเคราะห์หรือดวงจันทร์ เมื่อเทียบกับระนาบอิคลิปติด ว่าทำมุมกันกี่องศา เช่น ดวงจันทร์ มีระนาบ 5 deg 09 min


32Julian Day (จูเลียน เดย์)
 เป็นระบบจำนวนวันแบบต่อเนื่องไม่มีการแบ่งเป็นเดือนหรือปี มักใช้ในทางดาราศาสตร์คำนวนเหตุการณ์ต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นบนท้องฟ้า โดยวันที่ 1 January 4713 BC. เวลาเที่ยงวันตามเวลา GMT จะหมายถึงวันที่ 0 ของ julian day  แนวคิดนี้ ได้มาจาก นักประดิษฐปฏิทินชาวฝรั่งเศส ชื่อ Joseph Justus Scaliger เมื่อปี คศ.1582 โดยวันที่ 1 มกราคม 1995 เวลา 18.00 น.  มีค่าเท่ากับ 2,449,719.25  


33Kelvin 
อ่านว่า เคลวิน เป็นค่าองศาสัมบูรณ์ มีค่าเท่ากับ 273.16  องศาเซลเซียส หรือ  K = C + 273.16


34Magnetoshere (แมค-นี-โทส-สะ-เฟียร์)
 
คืออวกาศชั้นนอกสุดรอบๆดาวเคราะห์ที่มีสนามแม่เหล็ก โดยรูปร่างของชั้น magnetoshere จะเปลี่ยนแปลงไปตามกระแสลมสุริยะ โดยขอบเขตชั้นนอกสุดของ magentoshere เรียกว่า magnetopause  และบริเวณที่มีความแปรปรวน ของเส้นแรงแม่เหล็กเนื่องจากกระแสลมสุริยะ เรียกว่า magnetosheath  ส่วนบริเวณ magnetoshere ที่ยืดยาวออกไปตามทิศทางลมสุริยะ เรียกว่า magnetotail  


35Meteor (มี-ทิ-เออ) 
หรือดาวตก บางก็เรียกว่า "shooting star" หรือ "falling star" ดาวตกนั้นแท้จริงแล้วคือ เศษของฝุ่น หรือหินที่ถูกแรงดึงดูดของโลกดูดเข้ามาแล้วผ่านชั้นบรรยากาศเสียดสีแล้วเกิดลุกไหม้ ส่วนใหญ่แล้วดาวตกมักเกิดจากฝุ่นของดาวหาง ถ้าหาก มีจำนวนมากๆ เราก็เรียกว่าฝนดาวตก (Meteor Shower มี-ทิ-เออ-โช-เออ) ถ้ามีอัตราการตกถี่มากตั้งแต่ 1,000 ดวงต่อนาที ก็จะเรียกว่า พายุดาวตก (Meteor Storm มี-ทิ-เออ-สะตอม) ถ้าฝนดาวตกที่มีอัตราการตกน้อยกว่า 10 ดวงต่อชั่วโมง เราก็เรียกว่าเป็น Minor Meteor Showers   
          สำหรับเศษหินของดาวตกที่ลุกไหม้ไม่หมด แล้วตกลงถึงพื้นโลกเราก็เรียกว่า อุกกาบาต (Meteorite มี-ทิ-เออ-ไรท)


36Meteor Train (มี-ทิ-เออ-ทเรน)
 หางของฝุ่นหรือก๊าซที่แตกตัว หลงเหลือเป็นทางยาวตามแนวดาวตกนั่นเอง


37Nadir (เน-เดอะ)
 เป็นจุดที่อยู่ตรงข้ามกับจุด Zenith อยู่บริเวณท้าวของผู้สังเกตตรงลงไปใต้ดินผ่านไปฟากหนึ่งของโลก


38Node (โหนด)
เป็นจุดซึ่งวงโคจรอันหนึ่งตัดกับอีกอันหนึ่ง โดยปกติจะมีอยู่ 2 จุดด้วยกัน ตัวอย่างเช่น   
           แนววงโคจรของดวงจันทร์ทำมุม 5:09 องศา ตัดกับแนวเส้นอิคลิปติค มีจุดโหนดด้วยกัน 2 จุด  คือ
          - ascending node  เป็นจุดโหนดที่ดวงจันทร์ไต่ขึ้นจากทิศใต้ไปทิศเหนือ 
          - descending node เป็นจุดโหนดที่ดวงจันทร์ไต่ลงจากทิศเหนือลงทิศใต้ 
          - line of nodes  เป็นเส้นเชื่อมต่อระหว่างจุดโหนดทั้งสอง


39Oort clound (อ๊อต-คราว)
 เป็นแหล่งกำเนิดของดาวหาง หรือ ดงดาวหาง มีลักษณะเป็นทรงกลมล้อมรอบระบบสุริยะของเราอยู่ โดยอยู่ห่างจาก ดวงอาทิตย์ 6,000 Au. หรือครึ่งทางจากดาวฤกษ์ดวงใกล้สุด ซึ่งแนวความคิดนี้เป็นของ Ernst Opik ในปี 1932 และได้ถูกเปิดเผยครั้งแรกโดยJan Oort ในปี 1950


40parsec (พา-เซค) 
ย่อว่า (pc) เป็นหน่วยวัดความยาวทางดาราศาสตร์ โดยที่ 1 พาเสค มีค่าเท่ากับ 3.26 ปีแสง หรือ 3.1 × 1016 กิโลเมตร ดูคำว่า ปีแสง(light years


41perigee (เพ-ลิ-จี) 
ตำแหน่งใกล้สุดบนวงโคจรของวัตถุที่โคจรรอบโลก เช่น ดาวเทียมหรือดวงจันทร์ (Moon) ตรงข้ามกับคำว่า apogee


42Plasma (พลาส-ม่า)
 
หมายถึงก๊าซแรงดันต่ำ ซึ่งประกอบด้วยอะตอม และ อะตอมที่แตกตัว ของก๊าซ ซึ่งมีประจุบวกและลบในปริมาณที่เท่ากัน ทำให้มีสภาพเป็นกลาง


43protostar (โปร-โต-สตาร์) 
แกนกลางที่อัดแน่นไปด้วยโมเลกุลของก๊าซและฝุ่นละออง ซึ่งกำลังก่อตัวเป็นดาวฤกษ์ดวงใหม่ โดยจะสังเกตเห็น เป็นสีแดงมากๆ และคลายคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าช่วงคลื่นอินฟาเรดออกมา ที่เราสามารถเห็นได้ก็ภายใน M42 เนบิวล่านายพราน ซึ่งจะกลายเป็นดาวฤกษ์ อีกราว ล้านปีข้างหน้า


44Quasar (ควอ-ซ่าร์)
          เป็นวัตถุท้องฟ้าที่มีความสว่างมากและมีพลังงานสูง ซึ่งแผ่คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ากว้างมากตั้งแต่ช่วงคลื่นวิทยุจนถึงรังสีเอ็กซ์ คำว่า ควอซ่าร์ มาจากคำว่า Quasi-Stellar Object (QSO) ควอ-ซี-สะเทล-ล่า-ออป-เจค เพราะครั้งแรกที่ค้นพบควอซ่าร์เมื่อปี 1963 นักวิทยาศาสตร์ ยังไม่รู้จักว่ามันคืออะไร เพียงแต่ว่าเหมือนดาวบนท้องฟ้าที่สว่างมากๆ เท่านั้น แต่ปัจจุบันทราบว่า เป็นวัตถุที่เก่าแก่ที่สุดในเอกภพ และอยู่ไกลสุด ขอบจักรวาล มีค่า red shift สูง ซึ่งหมายความว่ากำลังเคลื่อนที่จากเราไปเร็วมาก เพราะจักรวาลกำลังขยายตัว


45Radiant Drift (เร-เดียท-ดริฟท) 
เป็นการเคลื่อนที่ของตำแหน่ง radiant ของฝนดาวตก เมื่อเทียบกับดาวที่เป็นฉากหลัง  เกิดขึ้นจากที่โลก เคลื่อนที่ผ่านแนวของฝนดาวตกนั้นๆ 


46Right Ascention (ไรท์แอสเซนชั่น) 
เรียกย่อๆ ว่า RA  (อาร์เอ) เป็นเส้นวงกลมชั่วโมง (Hour circle) บนทรงกลมท้องฟ้า (Celestial object) มีหน่วยบอกเป็น ชั่วโมงหน่วยย่อยเป็น นาที และ วินาที  ใช้ในการบอกพิกัดวัตถุท้องฟ้าในระบบเส้นศูนย์สูตร  โดยที่เส้น RA ที่ 0 ชั่วโมง อยู่ที่จุด vernal equinox  (อยู่ในกลุ่มดาวปลาคู่ในปัจจุบัน) และนับไปทางทิศตะวันออก หรือ ไปทางขวามือเมื่อเราหันหน้าเข้าหาทิศเหนือ มีค่าเป็น 1..2..3  ชั่วโมงไปเรื่อยจนครบรอบ 24 ชั่วโมง โดยเส้น RA แต่ละชั่วโมงจะมีระยะห่างเชิงมุม  15 องศา 


47Satellite (เซท-เทล-ไลท์)
 หมายถึง วัตถุที่โคจรไปรอบๆ วัตถุอีกชิ้นหนึ่งที่ใหญ่กว่า ตัวอย่างเช่น ดาวเทียมหรือดวงจันทร์ที่โคจรรอบโลกของเรา ก็เรียกว่า satellite แต่ดวงจันทร์จะมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า Moon (สะกดด้วย M ตัวใหญ่) หรือโลกเป็นบริวาร (satellite) ของดวงอาทิตย์ หรือดาวบริวารที่เป็นดวงจันทร์ (moon สะกดด้วย m ตัวเล็ก) ของดาวเคราะห์อื่นเช่น ดาวพฤหัส หรือ ดาวเสาร์


48Solar Eclipse (โซล่า-อิคลิปส์) 
เป็นปรากการณ์ที่ดวงจันทร์บังดวงอาทิตย์ มักเกิดขึ้นช่วงขึ้น 1 ค่ำ หรือ แรม 15 ค่ำ เป็นช่วงที่ดวงจันทร์ อยู่ระหว่างโลกและดวงอาทิตย์พอดี


49Terrestrial planets (เทอ-เลส-เชียน-แพลน-เนต) 
 เป็นคำที่ถูกใช้เรียกแทนดาวเคราะห์ 4 ดวงคือ ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก และ ดาวอังคาร เนื่องจากมีเอกลักษณ์คล้ายกัน เช่น ขนาดใกล้เคียงกัน ความหนาแน่น และ จำนวนบริวารซึ่งมีไม่มาก


50white dwarf  (ไว้ท-ดวอฟ) 
ดาวแคระขาว เป็นดาวฤกษ์ที่ขนาดเท่ากับดวงอาทิตย์ของเรา ที่หมดพลังงานนิวเคลียร์ที่แกนกลางแล้ว หลังจากที่ขยายตัวเป็นดาวยักษ์แดง (Red Giant) แล้วก็จะเริ่มค่อยๆหดตัวเล็กๆ จนมีขนาดราว 1 ใน 100 ของดวงอาทิตย์หรือเท่ากับโลกของเรา ด้วยมวลที่เท่ากับดวงอาทิตย์และมีขนาดเท่าโลก ทำให้ความหนาแน่น ของดาวแคระขาวสูงมาก คือประมาณ 1 ล้านเท่าของความหนาแน่นของน้ำ