Powered By Blogger

วันศุกร์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2553

คำศัทพ์ดาราศาสตร์ 50 คำ

คำศัพท์ 50 คำ
1A Star  (เอ-สตาร์)
ดาวฤกษ์ที่สเปคตรัมชนิด A มีสเปคตรัมดูดกลืนของไฮโดรเจนเด่นชัด มีอุณหภูมิผิวราว 7500 เคลวิน ที่ A9 และ 9900 เคลวินที่ A0  เป็ดาวสีขาวมีขนาดประมาณ 1.8 ถึง 1.4 เท่าของมวลดวงอาทิตย์ ตัวอย่างดาวประเภทนี้ได้แก่ Sirius Vega  Altair Deneb


2Absolute temperature (แอ็บ-โซ-ลูด-เทม-เพอ-เร-เจอร์)
 
 อุณหภูมิสัมบูรณ์ มีหน่วยวัดเป็นเคลวิน (K) ช่วงย่อยของเคลวินมีค่าเท่ากับ 1 องศาเซลเซียส (C)  ความสัมพันธ์ระหว่างอุณหภูมิเคลวิน กับองศาเซลเซียสคือ  T= t+273.16  เมื่อ T แทนด้วยอุณหภูมิเคลวิน  และ t แทนด้วยองศาเซลเซียส  ดังนั้น อุณหภูมิศูนย์องศาสัมบูรณ์จึงมีค่าเท่ากัน -273.16 องศาเซลเซียส  
อุณหภูมิสัมบูรณ์มีการใช้กันแพร่หลายในวงการดาราศาสตร์


3Achromatic Lens (อะ-โคร-มา-ติค-เลนซ์) หรือ achromat  เป็นเลนซ์ที่ถูกออกแบบมาให้ลดความคลาดเคลื่อนทางแสง โดยปกติจะใช้เลนซ์ 2 ชิ้นที่ทำจากเนื้อแก้วต่างชนิดกัน มาประกบกันเพื่อให้ได้ผลรวมของแสงตกมาอยู่ที่โฟกัสเดียวกัน

4Angular Diameter (แอง-กู-ล่า-ได-มิ-เตอร์) เป็นการวัดระยะของวัตถุท้องฟ้าในรูปแบบความกว้างเชิงมุม มีหน่วยเป็นองศา หน่วยย่อยคือ arc minute , arc second   ถ้าเราทราบระยะห่างระหว่างผู้สังเกตกับวัตถุท้องฟ้า ก็สามารถคำนวนหาความกว้างจริงของวัตถุท้องฟ้านั้นได้ด้วยหลักตรีโกณมิติ
5B Star (บี-สตาร์) ดาวฤกษ์ที่มีสเปคตรัม Type B มีสเปคตรัมดูดกลืนของฮีเลียมชัดเจน อุณหภูมิ 10,500 เคลวินที่ B9 และ 28,000 เคลวินที่ B0 มีมวลอยู่ระหว่าง 3.2 ถึง 17 เท่าของดวงอาทิตย์ จัดเป็นพวกดาวยักษ์สีน้ำเงินสว่างกว่าดวงอาทิตย์ 20,000 เท่า  ตัวอย่างของดาว B star ได้แก่ Achernar,Regulus,Rigel,Spica


6Barlow lens (ฺบา-โล-เลนซ์) เป็นเลนซ์พิเศษที่ใช้เชื่อมต่อกับเลนซ์ตา เพื่อเพิ่มกำลังขยาย โดยปกติจะเพิ่มได้อีก 2 เท่าหรือ 3 เท่า ที่เรียกว่า Barlow 2x  หรือ Barlow 3x ตามลำดับ เช่นเดิมถ้าใช้เลนซ์ตาได้กำลังขยาย 50 เท่า เมื่อใช้ Barlow 2x จะไดกำลังขยายเพิ่มขึ้นเป็น 100 เท่าเป็นต้น  Barlow lens ถูกประดิษฐขึ้นโดยนักฟิสิกส์ชาวอังกฤษชื่อ Peter Barlow (ีคศ.1776-1872)
7Blueshift (บลู-ชิป) เป็นปรากฏการณ์ Doppler effect ทางดาราศาสตร์เมื่อแหล่งกำเนิดแสงอย่างดาวฤกษ์ เคลื่อนที่เข้าหาโลก ความยาวคลื่น ของแสงจะอัดตัวสั้นลง ความถี่ของแสงจะเลื่อน (shifted) ไปทางด้านสีม่วงของเส้นสเปคตรัม สังเกตได้จากแถบสเปคตรัมดูดกลืน จะเลื่อนไปทาง สีม่วงหรือสีน้ำเงิน (blueshift) โดยผลต่างของความถี่ที่เปลี่ยนไปสามารถคำนวนมาเป็นความเร็วที่เคลื่อนที่เข้าหาได้

8Brown Dwarf (บราว-ดะวาฟ) ดาวแคระน้ำตาล  เป็นวัตถุที่มีมวลน้อยกว่า 0.08 เท่าของดวงอาทิตย์แกนกลางมีอุณหภูมิไม่สูงพอที่ทำให้เกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์ได้ มีอุณหภูมิผิว 2500 เคลวิน ค่าต่ำสุดของดาวแคระแดง (Red Dwarf) มีการค้นพบแล้วหลายสิบดวง ดวงที่เย็นที่สุดคือ Gliese 229B มีอุณหภูมิผิว 900 เคลวิน

9C Star (Carbon Star) มี spectral Type C  เป็นดาวยักษ์แดงเย็นเฉียบ ผิวของดาวมีองค์ประกอบของคาร์บอนเป็นโมเลกุลพื้นฐาน เช่น คาร์บอนมอนน๊อคไซด์ (CO)  ไซยาโนเจน (CN) และโมเลกุลของคาร์บอน (C2)  ดาวฤกษ์มวลขนาดดวงอาทิตย์ของเราช่วงที่เป็นดาวยักษ์แดง จะมีคาร์บอนเป็นส่วนประกอบเช่นกัน เนื่องจากปฏิกิริยานิวเคลียร์ที่แกนกลางที่ผลิตคาร์บอนแล้วส่งต่อถึงพื้นผิว

10Calendar (แคล เอ็นเดอะ) ปฏิทิน คือวันใน 1ปีที่ถูกแบ่งย่อยออกเป็นเดือนๆ ตามการปรากฏของดวงอาทิตย์หรือดวงจันทร์ ปฏิทินถูกคิดขึ้น ครั้งแรกโดย ชาวบาบิโลเนียน โดยใช้การปรากฏของดวงจันทร์ซึ่งมี 29.5 วัน เรียกว่า "ปฏิทินจันทรคติ" แต่มาถูกปรับปรุงให้มีความแม่นยำขึ้น โดยชาวอียิปต์โบราณ โดยใช้ดวงอาทิตย์เป็นหลัก เรียกว่า "ปฏิทินสุริยะคติ"

11Cassiopeia A (แคส-ซ-ิโอ-เปีย- เอ)
 
แหล่งคลื่นวิทยุความเข้มสูงบนท้องฟ้าในกลุ่มดาวแคสซิโอเปีย เป็นซากหลงเหลือจากการระเบิดของซุปเปอร์โนวา เมื่อราว คศ.1660  แต่ไม่มีการบันทึกการเห็นไว้บนโลก ทิ้งซากไว้เป็นเนบิวล่าจางๆ อยู่ห่างจากโลกราว 10,000 ปีแสง

12Catadioptric (คา-ทา-ได-อ๊อป-ตริก) เป็นกล้องโทรทรรศน์อีกชนิดหนึ่งที่รวมเอาหลักการของเลนซ์และกระจกไว้ด้วยกัน  โดยมีเลนซ์รวมแสงอยู่ด้านหน้าที่เรียกว่า Correcting plated มีกระจกนูนติดไว้อีกด้านหนึ่งเพื่อสะท้อนภาพจากกระจกหลัก ผ่านรูตรงกลางไปท้ายกระจก คล้ายกับกล้อง Cassegrain เพียงแค่มี Correcting plated เพิ่มด้านหน้าเท่านั้น  กล้องแบบนี้ได้แก่ Schmidt-Cassegrain telescope และ Maksutov Telescope

13Celestial Equator (ซี-เลส-เชียน- อิ-เคว-เตอร์) เป็นแนวของเส้นศูนย์สูตรโลก ที่ขยายไปปรากฏบนทรงกลมท้องฟ้า เรียกว่า เส้นศูนย์สูตรท้องฟ้า ดังนั้นแนวของเส้นศูนย์สูตรโลก กับ แนวเส้นศูนย์สูตรท้องฟ้า จะเป็นแนวเดียวกัน

14Chandrasekar Limit  ค่าจำกัดจันทราสิกขา  เป็นค่าสูงสุดของมวลของดาวแคระขาว (White dwart) มีค่าประมาณ 1.4 เท่าของดวงอาทิตย์  ถ้าดาวฤกษ์มีมวลมากกว่าค่านี้ ดาวจะยุบตัวกลายเป็นดาวนิวตรอน และหลุมดำ  ค่าจำกัดจันทราสิกขาถูกคิดขึ้นครั้งแรกเมื่อปี คศ.1931 โดยนักดาราศาสตร์ฟิสิกส์ชาวอเมริกันเชื้อสายอินเดีย และเขาได้ตั้งทฤษฏีเกี่ยวกับวิวัฒนาการของดาวฤกษ์

15Constellation (คอน-สเตล-เล-ชั่น)
 หรือกลุ่มดาวบนท้องฟ้า  เป็นกลุ่มของดาวฤกษ์บนท้องฟ้าที่มนุษย์จิตนาการไว้เป็นรูปร่างต่างๆเพื่อง่ายต่อการจดจำ เริ่มใช้ครั้งแรกในยุคสมัยของ Ptolemy  มีอยู่ด้วยกัน 44 กลุ่ม ปัจจุบัน IAU แบ่งกลุ่มดาวบนท้องฟ้าออกเป็น 88 กลุ่ม และกำหนดขอบเขตที่แน่นอนเมื่อปี คศ.1930  จากกลุ่มดาวขนาดเล็กสุดคือกลุ่มดาวกางเขนใต้ (Crux) จนถึงกลุ่มดาวที่มีขนาดใหญ่ที่สุดคือกลุ่มดาวงูไฮดรา (Hydra)


16Cosmic Microwave Background
 หรือรังสีคอสมิคพื้นหลัง  เป็นการแพ่รังสีของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากเอกภพซึ่งแพ่ออกมาทุกทิศทุกทางในอวกาศมีอุณหภูมิราว 2.73 เคลวิน เชื่อว่าเป็นคลื่นพลังงานที่หลงเหลือมาจากความร้อนของเอกภพหลังการเกิด BigBang  ถูกพบครั้งแรกเมื่อปี คศ.1965 โดย Arno Penzias กับ Robert Wilson จาก Bell Telephone Laboratories การค้นพบในช่วงนั้นมีความยาวคลื่นสั้นมากเป็นไมโครเวฟ  ปัจจุบันความยาวคลื่นเพิ่มขึ้นเป็นมิลลิเมตรจากผลของเอกภพขยายตัว แต่ยังคงเรียกว่าเป็นคลื่นไมโครเวฟอยู่


17Dark matter (ดาค-แมท-เทอร์) หรือสารมืด  เป็นสสารที่ยังไม่รู้จัก และคิดว่ามีอยู่จริง อยู่ระหว่างแต่ละกาแลกซี่ และคิดว่ามีอยู่อย่างน้อย 90% ของมวลเอกภพ มีอยู่หลายรูปแบบ เช่น หลุมดำ(Black holes), ดาวแคราะน้ำตาล(Brown dwarfs), อนุภาคที่ยังไม่รู้จัก(Unknow atomic particle) ทั้งหมดนี้เรียกว่า cold dark matter  ส่วนที่เป็น hot dark matter นั้นจะได้แก่ นิวตริโน

18Declination (เด-คลิ-เน-ชั่น)
 ดูคำว่า
 Coordinate

19Disk Galaxy  (ดิส กาแลกซี่)
 เป็นชื่อที่ใช้เรียกกาแลกซี่ หรือ ดาราจักร ที่มีลักษณะเป็นแผ่นจานบางๆ ที่มีดาวรายล้อมเป็นรัศมีรอบๆศูนย์กลางกาแลกซี่  Disk Galaxy ใช้เรียกได้ทั้งกาแลกซี่แบบเกลียว
 (Sprial Galaxy)  และ กาแลกซี่แบบเลนซ์ (Lenticular Galaxy)

20Doppler effect (ดอล์ป-เลอร์-เอฟ-เฟค) เป็นปรากฏการณ์ที่เสียงหรือแสง มีการเปลี่ยนแปลงความยาวคลื่น เมื่อแหล่งกำเนิดเสียง หรือแสงนั้น มีการเคลื่อนที่เมื่อเทียบกับผู้สังเกต โดยจะมีความถี่มากขึ้นเมื่อแหล่งกำเนิดเคลื่อนที่เข้าหาผู้สังเกต และมีความถี่ลดลง เมื่อแหล่งกำเนิด เคลื่อนที่ออกจากผู้สังเกต ตัวอย่างของปรากฏการณ์นี้คือ รถที่เปิดไซเรนวิ่งเข้าหาเรา เสียงไรเรนจะมีความถี่สูง และเสียงจะมีความถี่ต่ำลง เมื่อรถวิ่งห่างจากเราไป ปรากฏการณ์นี้คนพบโดย คริสเตียน ดอปเปอร์ นักฟิสิกส์ชาวออสเตรีย มีชีวิตอยู่ระหว่างปี คศ.1803-1853 ในทางดาราศาสตร์ ปรากฏการณ์นี้สำคัญมาก เพราะทำให้เกิดปรากฏการณ์ที่เรียกว่า blueshift และ redshift


21Dwarf Galaxy
 หรือกาแลกซี่แคระ เป็นกาแลกซี่ที่มีขนาดเล็กกว่ากาแลกซี่ทั่วไปและมีความสว่างน้อย โดยทั่วไปจะเป็นพวกกาแลกซี่รูปไข่(elliptical) หรือ กาแลกซี่ไร้รูปร่าง (Irregular)  มีกาแลกซี่แคราะมากมายเป็นเพื่อนบ้านของทางช้างเผือก อยู่ในกลุ่มกาแลกซี่ท้องถิ่น (Local Group)

22Dwarf  Nova 
 หรือ โนวาแคระ เป็นประเภทหนึ่งของดาวแปรแสงแบบไม่คงที่ ซึ่งกราฟความสว่างจะคงที่เป็นเวลานานแล้วก็สว่างขึ้นอย่างทันทีทันใด และกลับมาสว่างปกติอีกครั้ง เกิดขึ้นจากระบบดาวคู่ซึ่งมีสมาชิกดวงหนึ่งเป็นดาวแคระขาว (White dwarf)  ตัวอย่างได้แก่ดาว U Geminorum  Z Camelopardalis


23Dwarf  Star
 หรือ ดาวแคระ เป็นลักษณะทั่วไปของดาวฤกษ์ในกาแลกซี่มีประมาณ 90 เปอร์เซนต์ มีมวลโดยเฉลี่ย 60 เปอร์เซนต์ รู้จักกันในชื่อของ main-sequence ในแผนผัง HR-diagram  คำว่าแคราะมาจากความสัมพันธ์ของความสว่างน้อยกว่าขนาด ดวงอาทิตย์ของเราก็เป็นหนึ่งในจำพวกดาวแคระด้วย


24Eccentricity (แอค-เซ็น-ทริซ-อิทิ) 
เป็นหนึ่งในองค์ประกอบของวงโคจร ซึ่งบอกว่า วงโคจรนั้นเป็นวงรีหรือวงกลมแค่ไหน โดยการนำค่า ระยะห่างระหว่าง จุดโฟกัสสองจุด (f1f2) หารด้วยความยาวของแกนสำคัญที่ลากผ่านจุดโฟกัสทั้งสอง (x) โดยที่ 
วงกลมจะมี Eccentricity= 0 ( f1f2 มีค่าเท่ากับศูนย์) 
พาลาโบล่า มี Eccentriciy = 1 (f1f2 มีค่าใกล้เคียง X)
วงรี จะมี Eccentricity อยู่ระหว่าง 0 ถึง 1 โดยที่ค่าเข้าใกล้ศูนย์ จะมีความรีน้อย หรือเกือบเป็นวงกลมนั่นเอง


25Equinox (อิควิน๊อกซ์)
 ในภาษาไทยเรียกว่า "วิษุวัต" เป็นช่วงที่เส้นอิคลิปติค (ecliptic) ตัดกับเส้นศูนย์สูตรฟ้า
 (celestial equator) มีความสำคัญทางดาราศาสตร์คือ ทำให้ มีช่วงเวลา กลางวัน กับกลางคืน ยาวเท่ากัน โดยที่ดวงดวงอาทิตย์จะขึ้นใกล้จุดทิศตะวันออก และ ตกใกล้ จุดทิศตะวันตก มากที่สุด ในรอบ 1 ปี จุดอิควิน๊อกซ์ มีอยู่ด้วยกัน 2 จุดคือ
      1.vernal equinox  (เวอนัล อิคิวน๊อกซ์) หรือ วสันตวิษุวัต ตรงกับวันที่ 21 มีนาคม 
      2.autumnal equinox  (ออทัมนัล อิคิวน๊อกซ์) หรือ ศารทวิษุวัต ตรงกับวันที่ 23 กันยายน


26Fire ball (ไฟล์-บอล)
 เป็นคำจำกัดความเรียกดาวตกที่มีความสว่างมากๆ ซึ่งกำหนดไว้ว่าต้องมีความสว่างมากกว่าดาวเคราะห์ ซึ่งในปัจจุบัน ดาวศุกร์เป็นดาวเคราะห์ที่ สว่างที่สุด ดังนั้น ดาวตกที่มีความสว่างมากกว่า -4.7 ก็จะถูกจัดอยู่ในกลุ่ม ของ fire ball ด้วย ซึ่งฝนดาวตกเจมินิค ในเดือนธันวาคม จะปรากฏ fire ball มากกว่าอันอื่นๆ


27Galilean Satellites (กา-ลิ-เลียน-แซท-เอล-ไลท)
 คือดวงจันทร์ขนาดใหญ่ของดาวพฤหัส 4 ดวงคือ Io,Europa,Ganymede และ Callisto ซึ่งสามารถมองเห็นได้จากโลก ซึ่งกาลิเลโอ เป็นคนแรกที่สังเกตเห็น เมื่อปี 1610 จึงตั้งชื่อให้เป็นเกียรติ 


28Gamma-Ray Burst (GRB) (แกม-ม่า-เรย์-เบิซท)
          เป็นปฎิกิริยาเจิดจ้าของรังสีแกมม่า ในช่วงเวลาสั้นๆ นานไม่เกิน 2-3 นาที ตรวจพบครั้งแรกเมื่อปี 1967 จากดาวเทียมที่โคจรอยู่ และในปี 1999 กล้องอวกาศฮับเบิลก็ตรวจพบ GRB อีกที่ใจกลางของกาแลกซี่ไกลโพ้น


29Geocentric distance (จี-โอ-เซน-ทริด ดิส-แตนซ์)
 
(delta) หมายถึงระยะทางจากวัตถุท้องฟ้าถึงโลก โดยทั่วไปจะใช้หน่วยวัดเป็น astronomical units (AU.)


30Heliocentric distance (r) (ฮี-ลี-โอะ-เซ็น-ทริค-ดิซ-แทน)
 
คือระยะทางจากวัตถุถึงดวงอาทิตย์ โดยทั่วไปจะบอกหน่วยเป็นastronomical units (AU.)


31Inclination (อิน-คลิ-เน-ชัน) 
ระนาบวงโคจรของดาวเคราะห์หรือดวงจันทร์ เมื่อเทียบกับระนาบอิคลิปติด ว่าทำมุมกันกี่องศา เช่น ดวงจันทร์ มีระนาบ 5 deg 09 min


32Julian Day (จูเลียน เดย์)
 เป็นระบบจำนวนวันแบบต่อเนื่องไม่มีการแบ่งเป็นเดือนหรือปี มักใช้ในทางดาราศาสตร์คำนวนเหตุการณ์ต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นบนท้องฟ้า โดยวันที่ 1 January 4713 BC. เวลาเที่ยงวันตามเวลา GMT จะหมายถึงวันที่ 0 ของ julian day  แนวคิดนี้ ได้มาจาก นักประดิษฐปฏิทินชาวฝรั่งเศส ชื่อ Joseph Justus Scaliger เมื่อปี คศ.1582 โดยวันที่ 1 มกราคม 1995 เวลา 18.00 น.  มีค่าเท่ากับ 2,449,719.25  


33Kelvin 
อ่านว่า เคลวิน เป็นค่าองศาสัมบูรณ์ มีค่าเท่ากับ 273.16  องศาเซลเซียส หรือ  K = C + 273.16


34Magnetoshere (แมค-นี-โทส-สะ-เฟียร์)
 
คืออวกาศชั้นนอกสุดรอบๆดาวเคราะห์ที่มีสนามแม่เหล็ก โดยรูปร่างของชั้น magnetoshere จะเปลี่ยนแปลงไปตามกระแสลมสุริยะ โดยขอบเขตชั้นนอกสุดของ magentoshere เรียกว่า magnetopause  และบริเวณที่มีความแปรปรวน ของเส้นแรงแม่เหล็กเนื่องจากกระแสลมสุริยะ เรียกว่า magnetosheath  ส่วนบริเวณ magnetoshere ที่ยืดยาวออกไปตามทิศทางลมสุริยะ เรียกว่า magnetotail  


35Meteor (มี-ทิ-เออ) 
หรือดาวตก บางก็เรียกว่า "shooting star" หรือ "falling star" ดาวตกนั้นแท้จริงแล้วคือ เศษของฝุ่น หรือหินที่ถูกแรงดึงดูดของโลกดูดเข้ามาแล้วผ่านชั้นบรรยากาศเสียดสีแล้วเกิดลุกไหม้ ส่วนใหญ่แล้วดาวตกมักเกิดจากฝุ่นของดาวหาง ถ้าหาก มีจำนวนมากๆ เราก็เรียกว่าฝนดาวตก (Meteor Shower มี-ทิ-เออ-โช-เออ) ถ้ามีอัตราการตกถี่มากตั้งแต่ 1,000 ดวงต่อนาที ก็จะเรียกว่า พายุดาวตก (Meteor Storm มี-ทิ-เออ-สะตอม) ถ้าฝนดาวตกที่มีอัตราการตกน้อยกว่า 10 ดวงต่อชั่วโมง เราก็เรียกว่าเป็น Minor Meteor Showers   
          สำหรับเศษหินของดาวตกที่ลุกไหม้ไม่หมด แล้วตกลงถึงพื้นโลกเราก็เรียกว่า อุกกาบาต (Meteorite มี-ทิ-เออ-ไรท)


36Meteor Train (มี-ทิ-เออ-ทเรน)
 หางของฝุ่นหรือก๊าซที่แตกตัว หลงเหลือเป็นทางยาวตามแนวดาวตกนั่นเอง


37Nadir (เน-เดอะ)
 เป็นจุดที่อยู่ตรงข้ามกับจุด Zenith อยู่บริเวณท้าวของผู้สังเกตตรงลงไปใต้ดินผ่านไปฟากหนึ่งของโลก


38Node (โหนด)
เป็นจุดซึ่งวงโคจรอันหนึ่งตัดกับอีกอันหนึ่ง โดยปกติจะมีอยู่ 2 จุดด้วยกัน ตัวอย่างเช่น   
           แนววงโคจรของดวงจันทร์ทำมุม 5:09 องศา ตัดกับแนวเส้นอิคลิปติค มีจุดโหนดด้วยกัน 2 จุด  คือ
          - ascending node  เป็นจุดโหนดที่ดวงจันทร์ไต่ขึ้นจากทิศใต้ไปทิศเหนือ 
          - descending node เป็นจุดโหนดที่ดวงจันทร์ไต่ลงจากทิศเหนือลงทิศใต้ 
          - line of nodes  เป็นเส้นเชื่อมต่อระหว่างจุดโหนดทั้งสอง


39Oort clound (อ๊อต-คราว)
 เป็นแหล่งกำเนิดของดาวหาง หรือ ดงดาวหาง มีลักษณะเป็นทรงกลมล้อมรอบระบบสุริยะของเราอยู่ โดยอยู่ห่างจาก ดวงอาทิตย์ 6,000 Au. หรือครึ่งทางจากดาวฤกษ์ดวงใกล้สุด ซึ่งแนวความคิดนี้เป็นของ Ernst Opik ในปี 1932 และได้ถูกเปิดเผยครั้งแรกโดยJan Oort ในปี 1950


40parsec (พา-เซค) 
ย่อว่า (pc) เป็นหน่วยวัดความยาวทางดาราศาสตร์ โดยที่ 1 พาเสค มีค่าเท่ากับ 3.26 ปีแสง หรือ 3.1 × 1016 กิโลเมตร ดูคำว่า ปีแสง(light years


41perigee (เพ-ลิ-จี) 
ตำแหน่งใกล้สุดบนวงโคจรของวัตถุที่โคจรรอบโลก เช่น ดาวเทียมหรือดวงจันทร์ (Moon) ตรงข้ามกับคำว่า apogee


42Plasma (พลาส-ม่า)
 
หมายถึงก๊าซแรงดันต่ำ ซึ่งประกอบด้วยอะตอม และ อะตอมที่แตกตัว ของก๊าซ ซึ่งมีประจุบวกและลบในปริมาณที่เท่ากัน ทำให้มีสภาพเป็นกลาง


43protostar (โปร-โต-สตาร์) 
แกนกลางที่อัดแน่นไปด้วยโมเลกุลของก๊าซและฝุ่นละออง ซึ่งกำลังก่อตัวเป็นดาวฤกษ์ดวงใหม่ โดยจะสังเกตเห็น เป็นสีแดงมากๆ และคลายคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าช่วงคลื่นอินฟาเรดออกมา ที่เราสามารถเห็นได้ก็ภายใน M42 เนบิวล่านายพราน ซึ่งจะกลายเป็นดาวฤกษ์ อีกราว ล้านปีข้างหน้า


44Quasar (ควอ-ซ่าร์)
          เป็นวัตถุท้องฟ้าที่มีความสว่างมากและมีพลังงานสูง ซึ่งแผ่คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ากว้างมากตั้งแต่ช่วงคลื่นวิทยุจนถึงรังสีเอ็กซ์ คำว่า ควอซ่าร์ มาจากคำว่า Quasi-Stellar Object (QSO) ควอ-ซี-สะเทล-ล่า-ออป-เจค เพราะครั้งแรกที่ค้นพบควอซ่าร์เมื่อปี 1963 นักวิทยาศาสตร์ ยังไม่รู้จักว่ามันคืออะไร เพียงแต่ว่าเหมือนดาวบนท้องฟ้าที่สว่างมากๆ เท่านั้น แต่ปัจจุบันทราบว่า เป็นวัตถุที่เก่าแก่ที่สุดในเอกภพ และอยู่ไกลสุด ขอบจักรวาล มีค่า red shift สูง ซึ่งหมายความว่ากำลังเคลื่อนที่จากเราไปเร็วมาก เพราะจักรวาลกำลังขยายตัว


45Radiant Drift (เร-เดียท-ดริฟท) 
เป็นการเคลื่อนที่ของตำแหน่ง radiant ของฝนดาวตก เมื่อเทียบกับดาวที่เป็นฉากหลัง  เกิดขึ้นจากที่โลก เคลื่อนที่ผ่านแนวของฝนดาวตกนั้นๆ 


46Right Ascention (ไรท์แอสเซนชั่น) 
เรียกย่อๆ ว่า RA  (อาร์เอ) เป็นเส้นวงกลมชั่วโมง (Hour circle) บนทรงกลมท้องฟ้า (Celestial object) มีหน่วยบอกเป็น ชั่วโมงหน่วยย่อยเป็น นาที และ วินาที  ใช้ในการบอกพิกัดวัตถุท้องฟ้าในระบบเส้นศูนย์สูตร  โดยที่เส้น RA ที่ 0 ชั่วโมง อยู่ที่จุด vernal equinox  (อยู่ในกลุ่มดาวปลาคู่ในปัจจุบัน) และนับไปทางทิศตะวันออก หรือ ไปทางขวามือเมื่อเราหันหน้าเข้าหาทิศเหนือ มีค่าเป็น 1..2..3  ชั่วโมงไปเรื่อยจนครบรอบ 24 ชั่วโมง โดยเส้น RA แต่ละชั่วโมงจะมีระยะห่างเชิงมุม  15 องศา 


47Satellite (เซท-เทล-ไลท์)
 หมายถึง วัตถุที่โคจรไปรอบๆ วัตถุอีกชิ้นหนึ่งที่ใหญ่กว่า ตัวอย่างเช่น ดาวเทียมหรือดวงจันทร์ที่โคจรรอบโลกของเรา ก็เรียกว่า satellite แต่ดวงจันทร์จะมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า Moon (สะกดด้วย M ตัวใหญ่) หรือโลกเป็นบริวาร (satellite) ของดวงอาทิตย์ หรือดาวบริวารที่เป็นดวงจันทร์ (moon สะกดด้วย m ตัวเล็ก) ของดาวเคราะห์อื่นเช่น ดาวพฤหัส หรือ ดาวเสาร์


48Solar Eclipse (โซล่า-อิคลิปส์) 
เป็นปรากการณ์ที่ดวงจันทร์บังดวงอาทิตย์ มักเกิดขึ้นช่วงขึ้น 1 ค่ำ หรือ แรม 15 ค่ำ เป็นช่วงที่ดวงจันทร์ อยู่ระหว่างโลกและดวงอาทิตย์พอดี


49Terrestrial planets (เทอ-เลส-เชียน-แพลน-เนต) 
 เป็นคำที่ถูกใช้เรียกแทนดาวเคราะห์ 4 ดวงคือ ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก และ ดาวอังคาร เนื่องจากมีเอกลักษณ์คล้ายกัน เช่น ขนาดใกล้เคียงกัน ความหนาแน่น และ จำนวนบริวารซึ่งมีไม่มาก


50white dwarf  (ไว้ท-ดวอฟ) 
ดาวแคระขาว เป็นดาวฤกษ์ที่ขนาดเท่ากับดวงอาทิตย์ของเรา ที่หมดพลังงานนิวเคลียร์ที่แกนกลางแล้ว หลังจากที่ขยายตัวเป็นดาวยักษ์แดง (Red Giant) แล้วก็จะเริ่มค่อยๆหดตัวเล็กๆ จนมีขนาดราว 1 ใน 100 ของดวงอาทิตย์หรือเท่ากับโลกของเรา ด้วยมวลที่เท่ากับดวงอาทิตย์และมีขนาดเท่าโลก ทำให้ความหนาแน่น ของดาวแคระขาวสูงมาก คือประมาณ 1 ล้านเท่าของความหนาแน่นของน้ำ

2 ความคิดเห็น:

  1. หาภาพมาประกอบด้วยจะดีมาก
    ตัวหนังสือมากเกินไป
    videosด้วยก็ได้

    ตอบลบ
  2. Mountain VR - The Ridge Titanium Wallet - Tianium-arts
    T.R.M.T.R. titanium tent stakes designed by K.T.R. t fal titanium and published by L.A.H. Entertainment in 2012. Mountain VR: titanium framing hammer The Ridge nano titanium by babyliss pro Titanium titanium pans Wallet. In store.

    ตอบลบ