คนไทยรู้จักการดูดาวมานานแล้ว ในสมัยก่อนเมื่อบ้านเมืองยังไม่ขยายใหญ่โตนัก ไฟฟ้าก็ยังไม่มีใช้ ตอนกลางคืนจึงค่อนข้างมืดสนิท ในยามค่ำคืนก็นั่งหรือนอนเล่นหรือพูดคุยกันที่นอกเรือนชาน ในยามฟ้าใสปราศจากแสงรบกวน ดวงดาวจะปรากฏระยิบระยับวับวาวบนท้องฟ้า ดุจดังเพชรพลอยหลากหลายขนาดและสี ความสวยงามของดาวบนท้องฟ้าทำให้คนไทยสนใจดูดาวต่าง ๆ ที่ปรากฏบนท้องฟ้า
ความรู้ทางดาราศาสตร์ของคนไทยมีความเป็นมาอย่างไรไม่เป็นที่แน่ชัด แต่หลักฐานการบันทึกเหตุการณ์ต่าง ๆ ทางประวัติศาสตร์ มีการกล่าวถึงปรากฏการบนท้องฟ้า เช่น การเกิดคราส การปรากฏของดาวหาง เป็นต้น ในตำราโหราศาสตร์มีการกล่าวถึง ดาวเคราะห์ และตำแหน่งปรากฏของดาวเคราะห์ตามกลุ่มดาว 12 ราศี กลุ่มดาวนักษัตร หรือกลุ่มดาวนักขัตตฤกษ์ทั้ง 27 กลุ่ม รวมทั้งการคำนวณตำแหน่งของดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และดาวเคราะห์ อีกทั้งเวลาการเกิดสุริยคลาส หรือ จันทรคลาส เข้าใจว่าไทยได้รับอิทธิพลจากฮินดู ซึ่งมีการพัฒนาความรู้ทางด้านดาราศาสตร์ในระดับสูง
หนังสือวรรณคดีไทยหลายเล่ม กล่าวถึงกลุ่ม ดาวฤกษ์ และดาวเคราะห์ ที่ปรากฏบนท้องฟ้า มีการเรียกชื่อตามลักษณะปรากฏบนท้องฟ้า เช่น ดาวไถ ดาวจระเข้ ดาวธง เป็นต้น ดังบทกลอนดอกสร้อยของเก่าบทหนึ่งที่กล่าวถึง ดาวจระเข้ ดังนี้
ความรู้ทางดาราศาสตร์ของคนไทยมีความเป็นมาอย่างไรไม่เป็นที่แน่ชัด แต่หลักฐานการบันทึกเหตุการณ์ต่าง ๆ ทางประวัติศาสตร์ มีการกล่าวถึงปรากฏการบนท้องฟ้า เช่น การเกิดคราส การปรากฏของดาวหาง เป็นต้น ในตำราโหราศาสตร์มีการกล่าวถึง ดาวเคราะห์ และตำแหน่งปรากฏของดาวเคราะห์ตามกลุ่มดาว 12 ราศี กลุ่มดาวนักษัตร หรือกลุ่มดาวนักขัตตฤกษ์ทั้ง 27 กลุ่ม รวมทั้งการคำนวณตำแหน่งของดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และดาวเคราะห์ อีกทั้งเวลาการเกิดสุริยคลาส หรือ จันทรคลาส เข้าใจว่าไทยได้รับอิทธิพลจากฮินดู ซึ่งมีการพัฒนาความรู้ทางด้านดาราศาสตร์ในระดับสูง
หนังสือวรรณคดีไทยหลายเล่ม กล่าวถึงกลุ่ม ดาวฤกษ์ และดาวเคราะห์ ที่ปรากฏบนท้องฟ้า มีการเรียกชื่อตามลักษณะปรากฏบนท้องฟ้า เช่น ดาวไถ ดาวจระเข้ ดาวธง เป็นต้น ดังบทกลอนดอกสร้อยของเก่าบทหนึ่งที่กล่าวถึง ดาวจระเข้ ดังนี้
สักวาดาวจระเข้ก็เหหก ศีรษะตกหันหางขึ้นกลางหาว
เป็นวันแรมแจ่มแจ้งด้วยแสงดาว น้ำค้างพราวปรายโปรยโรยละออง
ลมเรื่อย เรื่อย เฉื่อยฉิวต้องผิวเนื้อ ความหนาวเหลือทานทนกมลหมอง
สกุณากาดุเหว่าก็เร่าร้อง ดูแสงทองจับขอบฟ้าขอลาเอย
บทกลอนดอกสร้อยบทนี้ กล่าวถึงดาวจระเข้ ซึ่งตามแผนที่ดาวสากลก็คือ กลุ่มดาวหมีใหญ่ ( Ursa Major ) กลุ่มดาวนี้ปรากฏทางทิศเหนือ เคลื่อนที่รอบขั้วเหนือ ( ใกล้ดาวเหนือ ) ของท้องฟ้า ประกอบด้วยดาวสว่าง 7 ดวง กลุ่มดาวนี้อาจมองเป็นรูป “ กระบวยตักน้ำ “ ก็ได้ ราวเดือนพฤษภาคม กลุ่มดาวจระเข้จะขึ้นตั้งแต่ช่วงหัวค่ำ อยู่บนท้องฟ้าเกือบตลอดทั้งคืน เมื่อจะตกลับขอบฟ้าในช่วงก่อนฟ้าสาง หัวจระเข้จะปักลงไปทางขอบฟ้า ทำให้เห็นบริเวณที่เป็นหางจระเข้ชี้ขึ้นกลางหาว
ดูโน่นแนะแม่อรุณรัศมี ตรงมือชี้ ดาวเต่า นั่นดาวไถ
โน่นดาวธงตรงหน้าอาชาไนย ดาวลูกไก่ เคียงคู่เป็นหมู่กัน
องค์อรุณทูลถามพระเจ้าป้า ที่ตรงหน้าดาวไถ ชื่อไรนั่น
นางบอกว่า ดาวธง อยู่ตรงนั้น ที่เคียงกันเป็นระนาวชื่อ ดาวโลง
แม้ดาวกา มาใกล้ในมนุษย์ จะม้วยมุดมรณาเป็นห่าโหง
ดาวดวงลำ สำเภา มีเสากระโดง สายระโยงระยางหางเสือดาว
นั่นแน่ แม่ดู ดาวจระเข้ ศีรษะเร่หกหางขั้นกลางหาว
ดาวนิดพิศพายัพดูวับวาว เขาเรียก ดาวยอดมหาจุฬามณี
หน่อนรินทร์สินสมุทรกับบุตรี เฝ้าเซ้าซี้ซักถามตามสงกา
คำกลอนสุนทรภู่บทนี้ กล่าวถึงดาวหลายดวง ดางธง ก็คือ กลุ่มดาวราศีพฤษก หรือดาววัวนั่นเอง โดยเฉพาะตรงหน้าวัว ซึ่งมีลักษณะเหมือนธงสามเหลี่ยม ดาวฤกษ์ที่สว่างที่สุดในกลุ่มดาวนี้ คือ ดาวอัลดีบาแรน หรือดาวโรหิณี และยังมีกระจุกดาวฮายเอเดส ( Hyades ) อยู่ในกลุ่มดาวนี้ด้วย ดาวโลง ได้แก่ กลุ่มดาวราศีมิถุน หรือกลุ่มดาวคนคู่ ซึ่งมีดาวเรียงกันหลายดวงมองเห็นคล้ายโลงศพ กลอนบทนี้ กล่าวถึง ดาวฤกษ์สว่างดวงหนึ่ง เรียก “ ดาวยอดมหาจุฬามณี “ หรือ ดาวดวงแก้ว หรือดาวอาร์คตุรุส ( Arcturus ) หรือดาวอัลฟา บูตีส
( Alpha Bootis ) ในกลุ่มดาวคนเลี้ยงสัตว์ ส่วนกลุ่มดาวคันชั่ง ได้แก่ กลุ่มดาวราศีตุลย์ ซึ่งมีดาว 4 ดวง วางตัวคล้ายรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน มองดูคล้ายคันชั่ง
อ้างอิง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น